การลงทุนในธุรกิจของนักธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยนั้น ถือเป็นการส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
ยังมีผลต่อการจ้างแรงงานในประเทศอีกประการหนึ่ง หากแต่ในการลงทุนในธุรกิจของชาวต่างชาตินั้นก็มีเงื่อนไขและข้อห้ามระบุไว้หลายประการ
อาทิ ห้ามไม่ให้ถือครองที่ดินห้ามไม่ให้ทำธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศห้ามไม่ให้ชาวลงทุนธุรกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปวัฒนธรรม
ลงทุนธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกทั้งห้ามไม่ให้ลงทุนในธุรกิจในอาชีพที่คนไทยไม่มีความพร้อมในการแข่งขัน ฯลฯ
การดำเนินธุรกิจของชาวต่างชาติในไทยนั้น จำเป็นต้องจดทะเบียนธุรกิจให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เรารวบรวมสาระสำคัญสำหรับการจดทะเบียนบริษัทชาวต่างมาให้ศึกษาดังนี้
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 02-8539396
081-235-3798
099-962-3252
Add Line : 0993308228
สิ่งที่ควรรู้สำหรับการจดทะเบียนบริษัทของชาวต่างชาติ
การเริ่มต้นจัดตั้งและจดทะเบียนบริษัทของชาวต่างชาติในประเทศไทยกรณีจดเป็นบริษัทจำกัดนั้นตามกฎหมายเก่า จะต้องมีผู้ร่วมถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน
แต่กฎหมายใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่7 กุมภาพันธ์ 2566 กำหนดให้มีผู้ถือหุ้น 2 คนขึ้นไปก็สามารถขอจดทะเบียนได้ และในข้อสงสัยที่ว่า
การจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติจะแตกต่างจากการจดทะเบียนของคนไทยอย่างไร เราไปเรียนรู้สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องพร้อมๆกันเลย
รูปแบบบริษัทจำกัดที่มีหุ้นเป็นต่างชาติมีอะไรบ้าง
1.ชาวต่างชาติลงทุนในธุรกิจ โดยถือหุ้นในบริษัทไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ หมายถึง ธุรกิจดังกล่าวมีชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนสัญชาติไทย
ร่วมถือหุ้นไม่เกิน49% รูปแบบนี้บริษัทที่จัดตั้งในจะถือเป็นบริษัทสัญชาติไทย ที่สามารถที่สามารถดำเนินกิจการทุกอย่างได้ตามกฎหมายกำหนด
2.ชาวต่างชาติลงทุนในธุรกิจโดยถือหุ้นในบริษัทไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ หมายถึง บริษัทมีคนต่างชาติที่ไม่ใช่คนไทยถือหุ้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป
การจัดตั้งตามเงื่อนไขนี้จะถือว่าเป็น “บริษัทต่างด้าว” ที่จะต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าวและมีข้อจำกัดดังต่อไปนี้
1.ห้ามถือครองที่ดิน
2.ห้ามประกอบธุรกิจเกี่ยวกับความมั่นคง และความปลอดภัยของประเทศ เช่นกิจการวิทยุ และหนังสือพิมพ์ รวมไปถึงอาชีพการทำนา ทำสวนทำไร่ ที่สงวนไว้สำหรับคนไทยเป็นต้น
กรณีใดบ้างที่ชาวต่างชาติจะสามารถถือหุ้นในธุรกิจได้ 100%
1.กรณีที่ธุรกิจจัดตั้งเป็นโรงงานผลิตทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและผลิตเพื่อส่งออก ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้น 100 %ได้
แต่ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทแต่หากกรณีที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หลังจากการจดทะเบียน
กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจจะต้องไปเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยและนำเงินฝากเข้าบัญชีธนาคารเท่ากับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระด้วยตนเอง
ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่าง การจดทะเบียนลงทุนไว้ 10 ล้านบาท และชำระทุน 25% กรรมการก็จะต้องไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบุคคลและทำการฝากเงินเข้าบัญชีจำนวน 2,500,000 บาท
โดยต้องขอหนังสือรับรองเงินฝากจำนวนดังกล่าวนี้จากธนาคารแล้วนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 15 วันนับจากวันที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
2.หากเป็นธุรกิจผู้ประกอบการที่ไม่ใช่โรงงานการผลิต และเป็นธุรกิจที่เข้าเงื่อนไขในการได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนโดย BOI
เป็นธุรกิจได้รับเงื่อนไขสิทธิพิเศษกรณีดังกล่าวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% หากแต่ต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อออกหนังสือรับรองธุรกิจ
ที่ต้องมีระยะเวลาพิจารณา 4-6 เดือน และสามารถขอ FBL Foreign Business License ได้ผ่านกองต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 02-8539396
081-235-3798
099-962-3252
Add Line : 0993308228
ขั้นตอนการดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนบริษัทของชาวต่างชาติในไทย
ผู้ประกอบการที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทต่างชาติต้องศึกษาขั้นตอนอย่างละเอียดรอบครอบดังนี้
ขั้นตอนแรกยื่นเรื่องจองชื่อบริษัท และตรวจสอบชื่อบริษัทว่าต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทอื่นๆ ที่ขอจดทะเบียนไปก่อนหน้าแล้ว โดยสามารถทำการจองชื่อบริษัทได้ใน 2วิธีคือ
1.ยื่นดำเนินการขอจองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในส่วนของเขต หรือ สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่จะจัดตั้งสถานประกอบการนั้นๆตั้งอยู่
2.สามารถติดต่อดำเนินการจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไปสมัครเป็นสมาชิกที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยตรง
โดยในการยื่นจองชื่อสำหรับจดทะเบียนบริษัท สามารถทำการยื่นจองชื่อสำหรับใช้จดทะเบียนบริษัทได้ทั้งหมด3 ชื่อ เพื่อเป็นการสำรองชื่อ
กรณีที่ชื่อที่ยื่นจองซ้ำกับผู้ยื่นจดทะเบียนรายอื่นก่อนหน้า โดยขั้นตอนนี้ นายทะเบียนจะพิจารณาชื่อตามลำดับ1 ถึง 3 ที่ทำการระบุไว้
ขั้นตอนที่สอง เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน หากดำเนินการล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้จะต้องทำการย้อนกลับไปที่ขั้นตอนของการทำการจองชื่อบริษัทใหม่อีกครั้ง
ขั้นตอนที่สามการจัดประชุมจัดตั้งบริษัท และแต่งตั้งกรรมการบริษัท ระหว่างที่รอหนังสือบริคณห์สนธินั้น จะต้องทำการจองซื้อหุ้น
นัดประชุมการจัดตั้งบริษัท และแต่งตั้งกรรมการบริษัทขึ้น เมื่อได้กรรมการบริษัทแล้ว จะต้องมอบหมายกิจการให้กับกรรมการบริษัทไปดำเนินการต่อ
โดยมอบหมายให้กรรมการบริษัทเป็นผู้จัดเตรียมเอกสารประกอบการการยื่นคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทซึ่งจะต้องดำเนินการายใน 3 เดือน นับตั้งแต่การจัดประชุมจัดตั้งบริษัท
ขั้นตอนที่สี่ชำระค่าธรรมเนียมและรับเอกสารรับรองบริษัท เมื่อคณะกรรมการยื่นเอกสารขอจดทะเบียนและผ่านการพิจารณาจากนายทะเบียนแล้ว
จึงทำการชำระค่าธรรมเนียมและรับเอกสารรับรองที่แสดงว่าได้จดทะเบียนเป็นบริษัทของ ชาวต่างชาติที่เปิดบริษัทในประเทศไทยอย่างถูกต้องและเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 02-8539396
081-235-3798
099-962-3252
Add Line : 0993308228
การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอจดทะเบียนบริษัทของชาวต่างชาติ
ในแต่ละเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วยสัดส่วน% ของผู้ถือหุ้นคนไทยและชาวต่างชาติที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องเกิดเงื่อนไข ในการเตรียมเอกสารเพื่อขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติดังนี้
1.กรณีมีผู้ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่1 หุ้นขึ้นไป ทางฝั่งผู้ถือหุ้นคนไทยทุกๆคน จะต้องแสดงบัญชีเงินฝาก และต้องให้ทางธนาคารทำหนังสือรับรองเงินฝากของทุกคน
โดยยอดเงินฝากต้องไม่น้อยกว่าเงินลงทุนตามสัดส่วนที่ตนเองได้ถือหุ้นไว้ ทั้งนี้เพื่อนำใบรังรองไปแสดงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตอนไปขอจัดตั้งจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ
2.ในกรณีที่ชาวต่างชาติเป็น “กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม”ที่สามารถทำการแทนบริษัทในการลงนามเอกสารต่างๆ ได้แต่อาจจะไม่ได้มี
สัดส่วนในหุ้นของบริษัทเลยกรณีนี้บังคับให้ผู้ถือหุ้นคนไทย ต้องแสดงบัญชีเงินฝากให้ตรงกับจำนวนที่นำมาลงทุนหุ้นหรือตามสัดส่วนที่ได้ถือหุ้นอยู่
3.ในกรณีที่ชาวต่างชาติเป็นกรรมการที่ไม่มีอำนาจลงนามผู้ถือหุ้นไทยก็ไม่จำเป็นต้องแสดงบัญชีเงินฝากเหมือนในข้อ2 แต่ถ้าหากมีชาวต่างชาติ
ที่เป็นทั้งกรรมการที่ไม่มีอำนาจลงนามและเป็นทั้งผู้ถือหุ้นในบริษัทด้วยผู้ถือหุ้นคนไทยก็จำเป็นต้องแสดงเงินฝากหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้หนังสือรับรองเงินฝากของผู้ถือหุ้นคนไทย สามารถแสดงยอดเงินฝากมากกว่าเงินลงทุนที่ตนถือหุ้นอยู่ได้แต่ห้ามฝากน้อยกว่าเงินลงทุน
4.หากต่างชาติดำเนินธุรกิจและร่วมถือหุ้นธุรกิจโดยมีสถานะเป็นทั้งกรรมการมั่วไป และกรรมการที่มีอำนาจของบริษัท หรือกรณีที่ชาวต่างชาติ
เข้ามาทำงานรับเงินเดือนบริษัทในประเทศไทย จพต้องมีเอกสาร WORK PERMITและมีทุนจดทะเบียนจำนวน 2 ล้านบาท ต่อคน
โดยจะต้องชำระหุ้นเต็มจำนวนและบริษัทต่างชาตินั้นๆจะต้องมีคนไทยทำงานด้วยจำนวน 4 คนต่อผู้ถือหุ้นที่เป็นกรรมการ 1 คนและบริษัทจะต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
5.ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติไม่ใช้เอกสาร WORK PERMIT รองรับในการทำงานและรับเงินเดือนในประเทศไทยและไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศไทยบ่อย ได้รับการยดเว้นไม่ต้องมีทุนในการจดทะเบียน 2ล้านบาท
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 02-8539396
081-235-3798
099-962-3252
Add Line : 0993308228
การเตรียมเอกสารเพื่อขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ต่างชาติถือหุ้น50%ขึ้นไป (บริษัทต่างด้าว)
1.หนังสือคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (จำนวน 3 หน้า)
2.ชื่อบริษัทที่ได้ยื่นขอ และผ่านการพิจารณาแล้ว
3. เอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน
4. หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท ซึ่งหากเจ้าของบ้านเป็นนิติบุคคลจะต้องแนบหนังสือรับรองบริษัทและสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่มีอำนาจผูกพันในเอกสารของบริษัทด้วย
5. หนังสือระบุรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่จะขอรับใบอนุญาต
6. เอกสารแสดงจำนวนทุน จำนวนหุ้น และจำนวนมูลค่าของหุ้นบริษัทที่ได้กำหนดไว้พร้อมทั้งรายละเอียดสัดส่วนการถือหุ้นของคนไทยกับละคนต่างชาติ แสดงประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างชาติถือ
7. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ร่วมหุ้นสัญชาติไทย หรือสำเนาหนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ ในฐานะผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทอย่างน้อย 2 คน ที่มีการแสดงที่อยู่ แสดงจำนวนหุ้นซึ่งได้เข้าไปซื้อไว้ทั้งลายลายเซ็นของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัททุกๆคน
8. เอกสารหลักฐานแสดงที่มาของเงินทุนที่สอดคล้องกับเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นคนไทยทุกๆคนกรณีนี้เฉพาะธุรกิจใหม่ที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือต่างชาติที่เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท
9.เอกสารแสดงเงินลงทุนที่ครบตามทุนจดทะเบียนภายใน 12 วัน กรณีนี้เฉพาะธุรกิจกิจใหม่ที่จดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท
10.ใบรับรองบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ถือหุ้นคนไทย ที่ยอดต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่ลงทุนกรณีนี้เฉพาะธุรกิจใหม่ที่คนไทยและต่างชาติลงทุนร่วมกัน
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 02-8539396
081-235-3798
099-962-3252
Add Line : 0993308228