ภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องซับซ้อน แต่เป็นสิ่งที่คนทั่วไปอาจจะยังไม่คุ้นเคย ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราให้เวลา และศึกษากับเรื่องภาษีให้มากขึ้น
ก็จะสามารถเข้าใจกับระบบภาษีได้ เพราะภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว ยิ่งถ้าใครอยากเปิดบริษัทเป็นของตัวเองแล้วยิ่งต้องศึกษาระบบภาษีเอาไว้ให้ดี
เพราะการเปิดบริษัทนั้นก็ต้องจ่ายภาษีด้วยเช่นกัน หากคุณอยากรู้ว่าเปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้างต้องไม่พลาดบทความเรื่องนี้
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เปิดบริษัทแล้วมีกำไรก็ต้องเสียภาษี ยกเว้นว่าขาดทุนถึงไม่ต้องเสียภาษี หากใครอยากรู้ว่าเปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
บอกเลยว่าภาษีด่านแรกที่ต้องเจอก็คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะคิดจากกำไรสุทธิของบริษัท คำนวณง่ายๆ
โดยการนำ รายได้ มาลบออกด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัททั้งหมด ก็จะได้เป็น กำไรสุทธิ ซึ่งต้องยื่นจ่ายปีละ 2 ครั้ง ตามปีปฏิทิน
ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ที่เราต้องยื่นภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด. 51 ซึ่งภาษีตัวนี้มีกำหนดยื่นภายใน 2 เดือนนับจากวันครึ่งรอบบัญชี
แต่ถ้าปีไหนรอบบัญชีไม่เต็ม 12 เดือน ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีตัวนี้ และภาษีเงินได้นิติบุคคลเต็มปี ซึ่งเราจะต้องยื่นภาษีด้วยแบบ
ภ.ง.ด. 50 ยื่นภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี และจำเป็นต้องยื่นทุกปีหลังจากที่จดบริษัทด้วย โดยเกณฑ์ในการจ่ายภาษีของนิติบุคคลนั้น
หากไม่ใช่ SME จะเก็บภาษี 20% แต่ถ้าเป็น SME จะมีการเก็บภาษีแบบขั้นบันไดดังนี้
-หากในปีนั้น คุณมีกำไรไม่เกิน 300,000 บาท คุณไม่ต้องเสียภาษี
-หากในปีนั้น คุณมีกำไรระหว่าง 300,001 – 3,000,000 บาท คุณต้องเสียภาษี 15%
-หากในปีนั้น คุณมีกำไรตั้งแต่ 3,000,000 บาทขึ้นไป คุณต้องเสียภาษี 20%
จะเห็นได้ว่าฐานภาษีของนิติบุคคลนั้นเก็บภาษีสูงสุดที่ 20% เท่านั้น แต่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น คิดภาษีสูงสุดที่ 35% เลยทีเดียว
2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ทราบกันไปแล้วว่าต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่เปิดบริษัทแล้วยังต้องเสียภาษีอะไรอีกบ้างนั้นยังเป็นอีกคำถามที่น่าสนใจ โดยอีกหนึ่งภาษี
ที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีที่คุณต้องหักเงินเอาไว้เมื่อมียอดชำระเกิน 1,000 บาท หากยอดไม่ถึง 1,000 บาท
ก็จะไม่มีรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย และต้องจะยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายภายใน 7 วันหลังจากสิ้นเดือนนั้นๆ โดยภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มีอยู่ 4 แบบ ได้แก่
กรณีหักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดา
-คุณจำเป็นต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1 ในกรณีที่หักเงินได้ประเภทที่ 1-2
-คุณจำเป็นต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 2 ในกรณีที่หักเงินได้ประเภทที่ 3-4
-คุณจำเป็นต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 3 ในกรณีที่หักเงินได้ประเภทที่ 5-8
กรณีหักภาษี ณ ที่จ่าย นิติบุคคล ในกรณีนี้นับรวมหมด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนก็ถือว่าเป็นนิติบุคคล
-มีกรณีเดียว คือ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 สำหรับเงินได้ทุกประเภทที่มีการหัก ณ ที่จ่าย
โดยมีอัตราการหักภาษีแตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่ายดังนี้:
-ค่าจ้าง และเงินเดือน ต่ำสุด 0% โดยจะคำนวณตามอัตราก้าวหน้าของแบบภาษีบุคคลธรรมดา
-จ้างทำงานหรือบริการ ต่ำสุด 0% โดยจะคำนวณตามอัตราก้าวหน้าของแบบภาษีบุคคลธรรมดา
-ค่าขนส่ง 1%
-ค่าโฆษณา 2%
-จ้างบริการวิชาชีพอิสระ 3%
-จ้างรับเหมา ทำของ 3%
-ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ 5%
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT
อยากรู้กันอีกรึเปล่าว่าเปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรอีกบ้าง บอกเลยว่าเปิดบริษัทแล้วยังมีภาษีให้เสียเพิ่มเติมอีก ถ้าหากบริษัทของคุณมีรายได้
ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีและไม่ได้ทำธุรกิจที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณต้องไปทำการจด VAT ให้ถูกต้องภายใน 30 วัน แต่ถ้ารายได้ไม่ถึง
1.8 ล้านบาทต่อปีก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมาจาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ แล้วนำส่งยอดส่วนต่างมายื่นแบบแสดงรายการ
ภ.พ. 30 ในแต่ละเดือนให้กรมสรรพากร โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT นั้นมีค่าคงที่อยู่ที่ 7% และต้องออกใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าด้วยทุกครั้ง
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
รู้กันแล้วนะว่าเปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ต่อไปเป็นภาษีที่มีเฉพาะบางบริษัทเท่านั้นที่ต้องจ่าย นั่นก็คือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ในกรณีนี้บริษัทมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษี ภ.ธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนต่อไป หากมีการขายอสังหาริมทรัพย์หรือให้กู้ยืมเงิน
จะต้องเสียภาษีในอัตรา 3.3% ราคานี้รวมอัตราภาษีท้องถิ่นไว้เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทที่ต้องจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นพิเศษนั้น มีรายการดังต่อไปนี้
-โรงรับจำนำ
-ธุรกิจค้าขายอสังหาริมทรัพย์
-ธนาคารพาณิชย์
-การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
-การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
-การรับประกันชีวิต
5.ภาษีอากรแสตมป์
จะเห็นได้ว่าจะเปิดบริษัททั้งที มีภาษีต้องจ่ายกันไม่น้อย แต่ยังไม่หมดแค่นี้ ถ้ายังอยากรู้ว่าเปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง
บอกเลยว่า เพื่อนๆ ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์ล่ะ โดยภาษีอากรแสตมป์นั้นเป็นเหมือนค่าธรรมเนียมในการดำเนินการเสียมากกว่า
เพราะต้องใช้แสตมป์ติดบนสัญญาหรือหนังสือและเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการติดต่อกับส่วนราชการ โดยในปัจจุบันภาษีอากรแสตมป์นั้นมีมากถึง
28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน กรมธรรม์ประกันภัย ใบมอบอำนาจ ใบมอบฉันทะ
สำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท ค้ำประกัน จำนำ แต่หากค่าภาษีอากรแสตมป์นั้นมีมูลค่าสูง จนไม่สามารถใช้แสตมป์ติดได้ตามความเหมาะสม
ทางบริษัทนั้นจำเป็นต้องขอยื่นแบบคำขอ อ.ส.4 เพื่อชำระค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าจริงแทน คล้ายๆ กับเวลาที่เราไปส่งพัสดุที่ไปรษณีย์
เมื่อค่าใช้จ่ายมีมูลค่าสูง ทางเจ้าหน้าที่จะไม่ได้นำแสตมป์ปกติมาติดทีละดวง แต่จะออกแสตมป์พิเศษตามมูลค่าออกมาให้แทนนั่นเอง
6.ภาษีป้าย
เราก็ได้รู้กันมาแล้วว่าเปิดบริษัทต้องเสียภาษีหลักๆอะไรบ้าง แต่ยังมีภาษีอื่นๆ ที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกด้วยเช่นกัน อย่างภาษีป้ายก็เป็นอีกหนึ่งภาษี
ที่คนเปิดบริษัทใหม่ต้องจ่าย โดยการติดป้ายชื่อร้าน ยี่ห้อ เครื่องหมายการค้า หรือการโฆษณาร้าน เป็นต้น จะต้องเสียภาษีตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 โดยเก็บภาษีตามลักษณะป้าย ดังนี้
-ในกรณีที่ป้ายที่มีเฉพาะอักษรที่เป็นภาษาไทยล้วนๆ คุณจะต้องจ่ายภาษีป้ายในอัตรา 5,10 บาท ต่อ 500 ตารางเซ็นติเมตร
-ในกรณีที่ป้ายที่มีอักษรภาษาไทยปนกับภาษาต่างประเทศ และ/หรือปนกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่น คุณจะต้องจ่ายภาษีป้ายในอัตรา 26, 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซ็นติเมตร
-ในกรณีที่ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยเลย ในกรณีนี้ถึงจะมีหรือไม่มีภาพหรือเครื่องหมาย รวมไปถึงป้ายที่มีอักษรภาษาไทยอยู่แค่บางส่วน
หรืออักษรภาษาไทยทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรภาษาต่างประเทศ คุณจะต้องจ่ายภาษีป้ายในอัตรา 50, 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
7.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
อีกหนึ่งภาษีที่ต้องพูดถึงในบทความเปิดบริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้างก็คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะการเปิดบริษัทนั้นต้องมีที่ตั้ง
ในการจดทะเบียน ถ้าเจ้าของบริษัทเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว ก็จะไม่มีภาษีในส่วนนี้ แต่ถ้าหากว่าเจ้าของบริษัทนั้นเช่าอาคาร
ในการเปิดบริษัท ก็จะต้องจ่ายค่าภาษีที่ดิน โดยมีอัตราภาษีที่ต้องเสียหากเป็นที่ดินจะใช้การประเมินทุนทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้างจะใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
-หากทรัพย์สินมีมูลค่า 0-50 ล้านบาท คุณต้องจ่ายภาษีในอัตรา 0.30%
-หากทรัพย์สินมีมูลค่าระหว่าง 50 – 200 ล้านบาท คุณต้องจ่ายภาษีในอัตรา 0.40%
-หากทรัพย์สินมีมูลค่าระหว่าง 200 – 1,000 ล้านบาท คุณต้องจ่ายภาษีในอัตรา 0.50%
-หากทรัพย์สินมีมูลค่าระหว่าง 1,000 – 5,000 ล้านบาท คุณต้องจ่ายภาษีในอัตรา 0.60%
-หากทรัพย์สินมีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท คุณต้องจ่ายภาษีในอัตรา 0.70%
ติดต่อปรึกษา งานบัญชีภาษี
โทรศัพท์ : 02-8539396
081-235-3798
099-962-3252
Add Line : 0993308228